ไขข้อสงสัย ประเพณีลอยกระทง เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมตำนานเรื่องเล่าความเป็นมา
ประเพณีวันลอยกระทง จะจัดขึ้นในทุกๆ ปี ไม่เคยขาด คือ วันเพ็ญเดือน 12 คือ วันที่พระจันทร์เต็มดวงพอดี ตามหลักโหราศาสตร์ และ หากยึดตาม ปฏิทินจันทรคติของไทย ก็จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ตำนาน ประเพณีลอยกระทง กับเรื่องเล่าความเป็นมา
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และ จากที่มีการเล่าต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ได้บอกไว้ว่า วันลอยกระทง นั้นน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงสมัยสุโขทัย เป็นต้นมา ซึ่งผ่านมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก หลายร้อยปี เมื่อก่อนนั้นเรียก วันลอยกระทงว่า พิธีจองเปรียญ หรือนิยมเรียกกันอีกแบบว่า การลอยโคมพระประทีป เป็นวัฒนธรรมที่ ลอยโคมไฟในน้ำ เป็นการจัดงานที่ยิ่งใหญ่มากในช่วงสมัยสุโขทัย จากหลักฐานที่มีในสมัยก่อนนั้น เมื่อนำมาเทียบกับปัจจุบันจึงสามารถเชื่อมโยงได้ว่า วัฒนธรรมลอยโคมไฟในน้ำ นั้นก็คือ งาน ลอยกระทง ในยุคของปัจจุบันนั้นเอง
มาถึงจุดนี้หลายคนอาจสงสัย ว่าวัฒนธรรมไทยของเรานั้น มีการลอยกระทง ขึ้นมาเพราะสาเหตุใดกันแน่
1. ความเชื่อเรื่องบูชาพระแม่คงคา ตามคำกล่าวของบรรพบุรุษ
หากเชื่อตามที่ปู่ย่าตายาย บอกเล่ากันมานั้น จะหมายถึง การลอยเพื่อทุกข์ลอยโศก หรือ หากยึดตามที่ได้เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ ก็หมายถึง การบูชา และ ระลึกถึงคุณความดีของ พระแม่คงคา ที่คอยชุบเลี้ยงชีวิต ทุกสรรพสิ่ง ทั้งมีชีวิต และ ไม่มีชีวิต ให้ได้ดำรงชีพต่อไปได้เรื่อยๆ เนื่องจากน้ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในการมีชีวิตอยู่ และ ตลอดเวลาก็จะมีการปลูกฝังให้รักน้ำ รู้จักคุณค่า และไม่ทำลายทรัพยากรน้ำ เพราะชื่อว่า แหล่งน้ำทุกสาย ทุกที่มีพระแม่คงคา ทรงดูแลรักษา คุ้มครองอยู่
2. ความเชื่อเรื่องบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สืบเนื่องมาจาก หลักฐานทางโบราณคดี ได้บอกไว้ว่า พิธีลอยกระทงยังไม่แน่ชัด ว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่กันแน่ และ ทำไว้เพื่อสิ่งใด แต่จากการสันนิษฐาน ของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนๆ ในยุคในอดีต ได้บอกไว้ว่า พิธีจองเปรียญ หรือ การลอยโคมพระประทีป นั้นมีไว้เพื่อ บูชาเทพเจ้า ตามหลักพิธีของพราหมณ์ คือ พระอิศวร เทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลก เทพผู้พระนารายณ์ เทพผู้ที่มีหน้าที่ และ คอยดูแล รักษาทุกสรรพสิ่งบนโลก และ พระพรหม เทพผู้ที่สามารถ จะกำหนดชะตา ก็ทุกสรรพสิ่งบนโลก แต่เนื่องด้วยในสมัยก่อนนั้น หลักความเชื่อของศาสนาพุทธ ค่อนข้างกว้างขวาง หลายๆ ประเทศทั่วโลก นอกจากชาวไทย ก็ยังมีประเทศอื่นๆ ที่นับถือศาสนาพุทธด้วย จึงได้นำในเรื่องของพระพุทธศาสนาเข้ามาพัวพัน และ เกิดพิธีกรรมต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน อย่างเช่น พิธีการชักโคมไฟ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ จากตำนานที่สืบต่อกันมา ของคนบางกลุ่ม บอกว่า เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าเคยได้ตั้งจิตอธิษฐาน และ ประทับรอยพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ซึ่งปกติแล้วรอยพระบาทของพระพุทธเจ้านั้น ยากที่จะมีใครได้พบเห็น ปัจจุบันจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์ที่คนเคารพบูชาเป็นอย่างมาก และ ได้จัดประเพณีลอยกระทง ขึ้นเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ต่างมีความเชื่อกันว่า การบูชาด้วยวิธีนี้ ถือเป็นเรื่องของความบริสุทธิ์ ปล่อยเรื่องทุกข์ร้อนใจ ไปกับแม่น้ำทุกสายบนโลกใบนี้ เหมือนเป็นการชะล้างจิตใจ เพื่อเริ่มต้นใหม่ คนไทยบางกลุ่มจึงยึดหลักความเชื่อนี้ มาใช้ในประเพณีลอยกระทง
นอกจากตำนาน ความเชื่อทั้ง 2 เรื่องนั้นแล้ว ยังมีศาสตร์ความเชื่อในด้านอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับกลุ่มคน ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยของแต่ละภูมิภาค จากที่กล่าวมาข้างต้น ไม่มีหลักความเชื่อใดผิด หรือ ถูกมากกว่ากัน ทุกอย่างจะขึ้นอยู่ความสบายใจ และ ไม่สร้างปัญหาให้แก่ผู้อื่น แต่หลักๆ ในชนชาวไทย จะมีความเชื่อยู่ 2 แบบ ใหญ่ๆ คือ การลอยกระทงเพื่อ บูชาพระพุทธเจ้า และ บูชาพระแม่คงคา แต่อย่างไรก็ตาม ทุกหลังความเชื่อจะยึดถือ คืนที่เกิดพระจันทร์เต็มดวง เป็นวันลอยกระทงเท่านั้น คือ ทุกๆ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 และ ในทุกๆ ปี เมื่อครบรอบ ฤกษ์ดี ในช่วงวันลอยกระทง ก็จะมีเหล่าบรรดา คนที่เชื่อในเรื่องโชคลาภ ว่าหากเราสะเดาะเคราะห์ผ่านไปแล้ว จะต้องเตรียมตัวรับเรื่องดีดีเข้ามา หลายคนไม่พลาดที่จะจับจองในเรื่องของ โชคลาภ เรื่องของการ เสี่ยงดวง เสี่ยงทาย ถือว่าช่วงนี้ จะได้รับกุศลครั้งยิ่งใหญ่ ทำการสิ่งใดก็มักจะบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
เลขเด่น : 2,7, เลขรอง : 5, เลขนำโชค : 127,279
- ตัวเงินตัวทอง ปีนเข้าบ้าน ตกใจ! แห่ส่องเลข
- ฝันว่าช่วยชีวิตแมว ทำนายความฝัน พร้อมตีเลขเด็ด
- บูชา ฤาษีพรหมเมศ สมหวังตามที่ขอ ให้โชคคนศรัทธา
- สมัครสมชิก แทงหวย ออนไลน์
แหล่งที่มา : mohnkhit , swcm